วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีทำเว็บไซต์ให้มีคนเข้าชมเยอะๆ

เคยอ่านบทความต่างๆไปเรื่อยๆ แล้วก็ไปเจอบทความดีดี บทหนึ่ง เค้าเขียนไว้เกี่ยวกับเว็บไซต์
ทุกวันนี้ เว็บไซต์ผุดขึ้นมาอย่างกะดอกเห็ด เยอะแยะเต็มไปหมด
ทั้งที่เป็นเว็บไซต์ขององค์กร และเว็บไซต์ส่วนตัว หรือแม้แต่เว็บไซต์ให้ความรู้ต่างๆมากมาย
ไปเจอบทความบทนี้เค้าเขียนขึ้นเพื่อให้เว็บไซต์ของเรามีความน่าสนใจ หรือดึงดูดใจผู้ชม
โดยมีวิธี อยู่ 23 ข้อด้วยกัน ดังจะบอกต่อไปนี้นะค่ะ^^

1. ตัวอักษรดึงดูดความสนใจได้เร็วกว่าภาพหรือ กราฟฟิค
2. จุดแรกที่สายตามองคือ มุมซ้ายบนของหน้าเว็บ
3. ผู้ใช้จะมองไปที่มุมซ้ายบนของเว็บไซ ต์ ก่อนที่จะเลื่อนสายตาลงมาด้านล่างขวาเรื่อยๆ
4. ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่สนใจมองแบนเนอร์ โฆษณา
5. รูปแบบเว็บไซต์และตัวอักษรที่มี สีสันสะดุดตา มักไม่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้
6. แสดงข้อมูลเป็นตัวเลข จะดึงดูดสายตามากกว่าเขียนเป็นตัวอักษร
7. ขนาดตัวอักษรมีผลต่อพฤติกรรมการใช้ เว็บ โดยตัวอักษรเล็กๆ
    จะทำให้คนอ่านอย่างละเอียด ขณะที่ตัวอักษรใหญ่ ทำให้คนมองเป็นอันดับแรก
8. คนส่วนใหญ่อ่านพาดหัวรอง ในกรณีที่น่าสนใจจริงๆ
9. คนมักจะอ่านส่วนล่างของหน้าเว็บแบบ ผ่านๆ
10. ประโยคหรือย่อหน้าสั้นๆ ดึงดูดความสนใจของคนอ่านมากกว่า
11. รูปแบบเว็บไซต์ที่มีแถวแนวตั้งแถว เดียว ดึงดูดสายตามากกว่าหลายแถว
12. แบนเนอร์โฆษณาที่อยู่บริเวณบนสุด และซ้ายสุด จะดึงดูดสายตามากที่สุด
13. การวางโฆษณาใกล้กับคอนเทนท์ที่ดี ที่สุด จะได้รับความสนใจจากผู้ใช้ค่อนข้างมาก
14. โฆษณาแบบตัวอักษรได้รับความสนใจ มากกว่าโฆษณาแบบภาพหรือกราฟฟิค
15. ภาพยิ่งใหญ่ ยิ่งดึงดูดความสนใจได้มาก
16. ภาพที่ชัด ดูง่าย และถ่ายบุคคลจริงๆ จะได้รับความสนใจจากคนดู มากกว่าภาพประเภทดีไซน์จัดๆ
     ภาพนามธรรม (abstract) หรือภาพนายแบบ-นางแบบ
17. หน้าเว็บไซต์ก็เหมือนหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ เพราะฉะนั้น พาดหัวจะได้รับความสนใจมากที่สุด
18. คนส่วนใหญ่มักจะสนใจหัวข้อและเมนู ต่างๆ ในเว็บไซต์
19. ถ้ามีบทความยาวๆ ในเว็บไซต์หรือบล็อก หากแยกเนื้อหาออกเป็นข้อๆ
      จะได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากขึ้น
20. ผู้ใช้มักจะไม่อ่านบทความที่ติดกัน ยาวๆ หลายบรรทัด
      ดังนั้น ถ้าบทความยาวมาก ควรแตกเป็นย่อหน้าย่อยๆ
21. การดึงความสนใจของคนให้อ่านบทความ ให้มากและนานที่สุด
      คือการใช้รูปแบบตัวอักษรที่แตกต่างกันไป เช่น ตัวหนา ตัวใหญ่ ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้
      หรือตัวอักษรสีต่างๆ แต่ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะทำให้ผู้อ่านหมดความสนใจเช่นกัน
22. เว้นที่ว่างบนหน้าเว็บบ้างก็ดี ไม่ต้องใส่ข้อมูลหรือภาพบนทุกอณูของเว็บก็ได้
23. ปุ่ม navigation ควรวางไว้บนสุดของหน้าเว็บ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้ง่ายที่สุด

หวังว่าบทความดีดี แบบนี้จะเป็นประโยชน์กับ เพื่อนๆ
หรือบุคคลที่ต้องการทำเว็บไซต์ หรือออกแบบเว็บไซต์ให้มีผู้คนเข้ามาดูมาอ่านกันเยอะๆ
^^ ออกแบบเว็บไซต์เสร็จแล้ว เอามาอวดกันที่บล็อคของอุ้มส์บ้างก็ได้นะค่ะ ยินดีค่ะ

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การออกแบบ เว็บไซต์ที่ดี



สำหรับ คนที่เริ่มต้นออกแบบเว็บไซต์ในครั้งแรกไม่รู้ว่าจะ เริ่มอย่างไรดี บทความนี้จะแนะนำวิธีการในการออกแบบเว็บไซต์ที่เว็บทั่วไปควรมี ดังรูปที่เห็นด้านบนเป็นโครงสร้างของเว็บไซต์โดยจะมีส่วนหลักๆอยู่ด้วยกัน ทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้
1.Containing block โดยปกติเราจะเขียน หรือ
ต่อจาก เพื่อเอาไว้เก็บเนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์ก่อน เพื่อเอาไว้เป็นกล่องในการเก็บเนื้อหาทั้งหมด โดยกล่องของเราจะมีข้อดีอยู่ตรงที่ สามารถทำให้ปรับเปลี่ยนขนาดในการแสดงผลของเนื้อหาได้ หรือตำแหน่งการแสดงผลของเว็บไซต์ได้เช่น จัดกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวา หากนึกภาพไม่ออก ลองเขียนเว็บไซต์โดยเริ่มที่ใส่ตัวหนังสือลงไปก่อน จากนั้นหากต้องการจัดตัวหนังสือเหล่านั้นจะทำได้ยากมาก ดังนั้นทุกครั้งที่ออกแบบเว็บไซต์อย่างลืมที่จะสร้าง containing block เอาไว้ใส่เนื้อหาทั้งหมดก่อน เพื่อความสะดวกของเราเอง2.Logo เป็นสัญลักษณ์ที่แสดง ถึงตัวตนของเรา ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานจดจำเราได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้การออกแบบเว็บไซ ต์นั้นจำเป็นต้องมีโลโก้ ของเว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ส่วนตำแหน่งที่ควรจะวางโลโก้ไว้คือตำแหน่งที่เป็นสีม่วงทั้งหมดนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้งานจำได้ และสะดุดตา เรื่องที่ต้องเตือนให้รู้กันก็คือ โลโก้ของเว็บไซต์เมื่อคลิกจะนำไปสู่หน้าแรกของเว็บไซต์เสมอ

3.Navigation
เป็น ส่วนที่จะนำผู้เข้าชมเว็บไซต์ไป ยังส่วนต่างของเว็บไซต์ โดยสามารถทำให้อยู่ในแนวนอน หรือแนวตั้งก็ได้ หากสังเกต baanwebsite.com เราจะทำทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยแนวนอนจะนำไปสู่เนื้อหาหน้าอื่นของเว็บไซต์ ส่วนแนวตั้งจะนำไปสู่เนื้อหาย่อยในหน้านั้น ตำแหน่งที่ควรจะวาง navagation เอาไว้คือสีเขียวทั้งหมด ถ้าสังเกตดูจะพบว่าการวางตำแหน่งต้องพยายามให้อยู่ในส่วนด้านบนของเว็บไซต์ หรือจะพูดอีกอย่างคือส่วนที่เมื่อผู้ใช้เปิดมาก็ต้องเจอได้ทันที ไม่ควรวางไว้ในตำแหน่งที่ผู้ใช้จะต้องเลื่อนขึ้นลง ซ้ายขวา

4.Content
ส่วน เนื้อหาของเว็บไซต์ เป็นส่วนที่ สำคัญมากที่สุด หากผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายผู้ใช้งานจะเปลี่ยนไปชมเว็บใหม่ ทันที ตำแหน่งที่ควรวางเนื้อหาไว้คือสีแดง หรือตำแหน่งอื่นๆที่คิดว่าจะทำให้ผู้หาเจอได้โดยไม่ลำบาก หากสังเกตดูจะพบว่าเว็บไซต์บางเว็บไซต์มีโฆษณาที่มากจนเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานหาเนื้อหาไม่เจอ นั่นถือเป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่ผิดพลาด

5.Footer
คือ ส่วนล่างสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะเก็บลิงก์ต่างๆเอาไว้ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเว็บไซต์เช่นลิขสิทธิ์ต่างๆ ถามว่าจำเป็นต้องมีหรือไม่ บอกได้ว่าจำเป็นอย่างยิ่ง footer จะเป็นตัวบอกผู้ชมว่าส่วนนี้คือล่างสุดของหน้าที่กำลังแสดงอยู่แล้วนะ ไม่มีเนื้อหาเพิ่มเติมแล้ว ทำไม่ต้องบอกเนื่องจากการแสดงเว็บไซต์ในบางครั้งนั้นหน้านั้นอาจโหลดได้ไม่ หมด อาจแสดงได้แค่เนื้อหาภายใน หากเราออก แบบเว็บไซต์ให้มี footer ตั้งแต่แรกผู้ใช้งานก็จะรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่แสดงผลนี้อาจแสดงได้ไม่ สมบูรณ์เพราะยังไม่เห็น footer และยังมีผลต่อภาพลักษณ์ของเว็บไซต์โดยตรง เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่มี footer จะรู้สึกเหมือนกับว่าเว็บไซต์นั้นยังทำไม่เสร็จ หรือขาดอะไรบางอย่าง

6.Whitespace
พื้นที่ ว่างในเว็บไซต์ คนส่วนใหญ่มักไม่เห็นความสำคัญของการเว้นพื้นที่ว่างไว้ในเว็บไซต์ เรามักจะใส่ภาพหรือตัวหนังสือเข้าไปให้มากที่สุดเพราะคิดว่าจะทำให้เว็บดู สวยงามขึ้น หรือใช้พื้นที่มีมีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด หากเราออกแบบเว็บไซต์โดยไม่ได้คำนึงว่า ต้องมีพื้นที่ว่างอยู่ในเว็บไซต์ จะทำให้เว็บของเรานั้นดูอึดอัดทันที การเว้นช่องว่างเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างระหว่างตัวอักษร หรือช่องว่างระหว่างภาพ เนื้อหาต่างๆ นอกจากจะทำให้เว็บของเราดูสบายตาขึ้นแล้ว ยังทำให้เราสามารถกำหนดจุดที่จะให้ผู้ใช้งานเว็บรู้สึกสนใจในจุดนั้นได้อีก ด้วย เช่นหากเราเว้นช่องว่างเอาไว้ตรงกลาง และนำภาพหรือตัวหนังสือเล็กๆไปวางไว้ ตรงจุดนั้นจะเป็นที่สนใจของผู้ใช้ทันที
บทความดีดีจาก Website i OK

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เหตุการณ์สุดคลาสสิกของอาชีพ โปรแกรมเมอร์

เหตุการณ์สุดคลาสสิกของอาชีพ โปรแกรมเมอร์


Category: Life, Programmer

สังเกตดูดีๆ คนที่ทำงานสาย software developer นั้น จะเจอเหตุการณ์ซ้ำไปซ้ำมาอยู่ตลอดชีวิตการทำงานสายนี้ และต่อไปนี้ขอเชิญอ่าน เหตุการณ์สุดคลาสสิคของโปรแกรมเมอร์เมอร์เมอร์….(มีเสียงสะท้อนเล็กน้อย)



โปรเจ็คที่ได้รับมักจะดูเหมือนง่ายในตอนแรก แต่สับสนวุ่นวายในตอนสุดท้าย

การให้โปรแกรมเมอร์ทำ เอกสาร เปรียบเสมือนเอานาวิกโยธินสหรัฐไปประกวดนางสาวไทย

ตอนเขียนโปรแกรมเอง Test เอง ไม่เจอ Bug แต่ตอนไป Test กับลูกค้าเสือกเจอ!!!

ตอน Test กับลูกค้าเหมือนจะไม่มีบั้กแล้ว พอเริ่มใช้งานระบบจริง แม่ง เสือกเจอ!!!

พอโปรแกรมพังตอนใช้งาน จริง โปรแกรมเมอร์มักเอ่ยว่า “ตอน Test ไม่เห็นเป็นเลย” แล้วก็จบด้วยการทำหน้างงๆ แสดงให้เห็นว่า กูไม่รู้จริงๆนะเว้ย

ประเมินเวลาของโปรเจ็ค 10 วัน ไม่ใช่การเขียนโปรแกรม 80 ชั่วโมงต่อคน แต่อาจะเป็น 100ชั่วโมงต่อคน หรือมากกว่านั้น

Programmer เก่งกาจจะเป็น System Analyst ทำเอกสารได้ห่วยแตก

Programmer ที่เก่งกาจมันพูดภาษาคนแล้วเข้าใจยาก

System Analyst ที่ทำเอกสารได้เก่งกาจ มักจะเคยเป็น Programmer ที่เขียนโปรแกรมได้ห่วยแตกมาก่อน

ลูกค้าไม่เคยให้ Requirement ครบ

ลูกค้าคือพระเจ้า

นอกจากลูกค้าแล้ว Google ก็เป็นพระเจ้าเหมือนกัน

งาน Coding ไม่เคยเสร็จก่อนกำหนด

ออกแบบระบบจนเสร็จ แล้วค่อยเขียนโปรแกรม เป็นแค่เรื่องในฝันเท่านั้น (สำหรับคนไทย)

คนให้ Requirement จริงๆ มักจะไม่ค่อยอยากได้ระบบ IT หัวหน้ามันนั้นแหละ อยากได้

บางที Bug ก็ไม่มีเหตุผล และไม่ต้องการคำจำกัดความ

Bug ก็เหมือนความรัก มองไม่เห็น แต่รู้สึกถึงมันได้

ไม่มี OT มีแต่ O-Free

Project ที่ โปรแกรมเมอร์ปั่นงานจะจนดึกดื่น มักจะมี Bug เยอะ ถึงเยอะมาก

ลูกค้ามักจะขี้เกียจ Test โปรแกรมของมันเอง

แต่พอใช้งานจริงแล้วเจอ Bug ชอบมางอแง

เขียนโปรแกรมช้า ใช่ว่าจะไม่มี Bug

เขียนโปรแกรมเทพ ใช่ว่าจะไม่มี Bug

สรุปว่าเขียนยังไงโปรแกรมก็มี Bug

การแก้ Code ของคนอื่นที่ไม่ใช่ของตัวเองเป็นเรื่องที่น่าปวดกบาลมาก

Code ยิ่งเทพเท่าไหร่ แก้ Bug ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น

และคนเขียน Code เทพ มักจะโดนสาปแช่งจาก Programmer ที่ต้องมาแก้งานมัน

ถ้าโปรแกรมช้า เราจะโทษว่า Server ไม่ดี

System Analyst ที่แก้ Design บ่อยๆ มักจะอ้างกับ Programmer ว่า “ก็ลูกค้ามันเปลี่ยน”

System Analyst ที่เพิ่ม Requirement บ่อยๆ มักจะอ้างกับ Programmer ว่า “ก็ลูกค้ามันขอเพิ่ม”

Programmer ที่ทำงานไม่ทัน มักจะอ้างว่าประเมินเวลามาน้อยเกินไป

มีความเชื่อว่า Application ไม่ต้องการความสวยงาม

Requirement สามารถเปลี่ยน เพิ่ม ได้ตลอดเวลา แต่มันไม่มีทางลดลงแน่นอน

การเล่น Internet ไร้สาระ คือการผ่อนคลาย

การเล่น msn คือการผ่อนคลาย

การเล่น social network เป็นการผ่อนคลาย

ด่าลูกค้าเป็นความบันเทิง และผ่อนคลาย

Internet มีทุกอย่างที่โปรแกรมเมอร์ต้องการ

พิมพ์สัมผัสได้ เป็นผลจาการ Chat อันหนักหน่วง

มีความเชื่อว่า ถ้าพิมพ์คีย์บอร์ดด้วยความรุนแรง จะดูเท่

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า โปรแกรมเมอร์ทำได้ทุกอย่างที่เกียวกับ computer

ดังนั้น โปรแกรมเมอร์เป็นที่พึ่งให้ เพื่อนๆ พ่อ แม่ พี่น้อง อากง อาม่า เวลามีปัญหากับเทคโนโลยีใหม่ๆ

ไม่มีโปรแกรมเมอร์คนไหน กลับบ้านตรงเวลาตลอด

ชีวิตจะบัดซบทุกครั้ง ที่ไฟดับ

ตอน Present โปรแกรมให้ลูกค้าดู ต้องไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนทุกครั้ง

เวลาขี้เกียจแก้งาน โปรแกรมเมอร์จะบอกว่า “Code ตรงนี้กูไม่ได้เป็นคนเขียนครับ

เวลาโปรแกรมมีปัญหา ลูกค้ามักจะบอกว่า “ยังไม่ได้ไปทำอะไรมันเลยนะ อยู่ๆก็ใช้ไม่ได้”

โปรแกรมเมอร์ว่างงาน มักง่วงตอนสายๆ หรือบ่ายๆ

คาเฟอีนคือยาวิเศษ

การนั่งหลับเวลาง่วงมักไม่ค่อยได้รับความยอมรับจากหัวหน้า

ปล.และอื่นๆอีกมากมาย ตรงทุกข้อ สาบานได้ ฮ่าๆๆๆ