วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ลักษณะคล้ายโลกที่สุด



นักดาราศาสตร์ประกาศว่าค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่อาจมีลักษณะคล้ายโลกมากที่ สุดเท่าที่เคยเจอมา โดยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
เหล่านักดาราศาสตร์ แถลงข่าวที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเมืองซานตาครูสเมื่อวานว่า ดาวดวงนี้มีที่ตั้งอยู่ใจกลางเขตที่เรียกกันว่าเขตมีชีวิต หรือ โกลดิล็อคโซน ซึ่งไม่เหมือนกับดาวเคราะห์อีกเกือบ 500 ดวงที่นักดาราศาสตร์ค้นพบนอกระบบสุริยจักรวาลของโลก
นักดาราศาสตร์บอกว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากดาวฤกษ์ ซึ่งเป็นดาวแม่ของมัน และมันอาจจะมีน้ำในสถานะที่เป็นของเหลวด้วย
นอกจากนั้น ตัวดาวเองก็ไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อเรื่องของพื้นผิว แรงโน้มถ่วง และชั้นบรรยากาศของดาว
นายอาร์. พอล บัตเลอร์ จากสถานบันคาร์เนอกี้ กรุงวอชิงตัน หนึ่งในผู้ร่วมค้นพบดาวดวงนี้บอกว่า ก่อนหน้านี้เราพบดาวเคราะห์มากมาย แต่ส่วนมากถ้าไม่อยู่ในเขตที่หนาวเกินไป ก็อยู่ในเขตที่ร้อนเกินไปเมื่อวัดระยะห่างจากดาวแม่ แต่ในที่สุดเราก็เจอดาวที่อยู่ในระดับกึ่งกลางพอดี
แต่ก็ยังคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับดาวประหลาดดวงนี้ ที่มีมวลมากกว่าโลกราว 3 เท่า มันมีความกว้างกว่าโลกเล็กน้อย แต่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ของมันมากกว่าโลก โดยมันอยู่ใกล้เพียง 22.5 ล้านกิโลเมตร ขณะที่โลกอยู่ห่างถึง 150 ล้านกิโลเมตร ทำให้มันโคจรรอบดาวแม่ในเวลาแค่ 37 วัน นอกจากนั้นมันก็ไม่ค่อยหมุนรอบตัวเองมากนัก เพราะด้านหนึ่งมักจะสว่างอยู่เสมอ
สำหรับอุณหภูมิพื้นผิวก็อาจจะสูงถึง 71 องศาเซลเซียส หรือเย็นถึงลบ 4 องศาเซลเซียส แต่บริเวณระหว่างกึ่งกลางของทั้งสองโซน อาจจะมีสภาพอากาศสบายๆ ได้
ดาวดวงนี้โคจรรอบดาวแม่ที่ชื่อ กลีซ 581 จึงมีชื่อว่า กลิซ 581 จี มันอยู่ห่างจากโลกเราถึง 195 ล้านล้านกิโลเมตร ซึ่งแม้จะดูเหมือนว่าไกล แต่หากเทียบกับขนาดของจักรวาล ก็ถือได้ว่ามันอยู่ใกล้โลกมาก
คอลัมน์ โลกสามมิติ

อีก ครั้งหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดใหญ่กว่า โลกไม่มากนักซึ่งเรียกกันว่า ซุปเปอร์เอิร์ธ (super-Earth) แต่ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้อาจจะมีความสำคัญกว่าดาวเคราะห์ซุปเปอร์เอิร์ธดวง อื่นๆ ที่ค้นพบก่อนหน้านี้ไม่ใช่เพราะว่ามันมีขนาดเล็กที่สุดเท่านั้น แต่เพราะว่ามันน่าจะมีน้ำอยู่บนพื้นผิวและมีอุณหภูมิเหมาะกับสิ่งมีชีวิตที่ จะอาศัยอยู่ได้
การค้นพบนี้เป็นผลงานของทีมนักดาราศาสตร์นำโดย สเตฟาน อูดรี นักดาราศาสตร์ของหอสังเกตการณ์เจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 3.6 เมตรของหอสังเกตการณ์ยุโรปใต้ (European Southern Observatory-Eso) ที่ ลาซิลลา ในประเทศชิลี ค้นหาดาวเคราะห์เพิ่มเติมที่ดาวแคระแดง “กลีส 581″ (Gliese 581) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 20.5 ปีแสง ในกลุ่มดาวคันชั่ง (constellation Libra)
ก่อน หน้านี้นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่ดาวแคระแดงกลีส 581 แล้ว 1 ดวง คือกลีส 581 เอ (GLIESE 581 A) ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ มีมวลมากกว่าโลก 15 เท่าและโคจรอยู่ใกล้ดาว กลีส 581 มาก
กล้อง โทรทรรศน์ไม่สามารถส่องเห็นดาวเคราะห์ได้โดยตรงเพราะแสงจากอันเจิดจ้า ของดาวฤกษ์ ดังนั้น การค้นหาจึงต้องใช้วิธีโดยอ้อม คือตรวจจับการส่าย “wobble” ของดาวแคระกลีส 581 ถ้ามีดาวเคราะห์อยู่ที่นั่นแรงดึงดูดของมันจะทำให้ความเร็วของดาวแคระแดงกลี ส 581 เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย นักดาราศาสตร์สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้ในแถบสเปกตรัม และสามารถคำนวณหา ตำแหน่งมวล และความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์ได้
ในที่สุดนัก ดาราศาสตร์ทีมนี้ก็ประสบความสำเร็จ เมื่อค้นพบ ดาวเคราะห์ที่ดาวแคระแดงกลีส 581 เพิ่มอีก 2 ดวง ดวงแรกคือ กลีส 581 บี (GLIESE 581 B) มีมวลมากกว่าโลกประมาณ 8 เท่า และโคจรรอบดาวแคระแดงกลีส 581 เป็นเวลา 84 วัน อีกดวงหนึ่งคือ กลีส 581 ซี (GLIESE 581 C) มีมวลมากกว่าโลกประมาณ 5 เท่าและโคจรรอบดาวแคระแดงกลีส 581 เป็นเวลา 13 วัน และดาวเคราะห์ดวงหลังนี้ได้กลายเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยพบมา
ดาว เคราะห์กลีส 581 ซี อยู่ใกล้ดาวแคระแดงกลีส 581 มากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ มันจึงน่าจะร้อนเหมือนดาวพุธในระบบสุริยะ ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะดาวแคระแดงกลีส 581 มีขนาดเล็กและเย็นกว่าดวงอาทิตย์ ดังนั้น จึงทำให้ดาวเคราะห์กลีส 581 ซี อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยได้ (habitable zone) ที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า “โซนโกลดิล็อกส์” (Goldilocks Zone)
ทีมค้นพบเชื่อว่าอุณหภูมิของดาวเคราะห์กลีส 581 ซีจะอยู่ในระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส ซึ่งน่าจะทำให้น้ำอยู่ในรูปของเหลวได้
“มัน เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดและเบาที่สุดที่เรารู้ในขณะนี้ และมันมีระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่เหมาะสมซึ่งเป็นไปได้ว่ามีน้ำในรูปของเหลว อยู่บนพื้นผิวของมัน” อูดรีกล่าว
“ยิ่งไปกว่านั้นรัศมีของมันใหญ่ กว่ารัศมีของโลกเพียง 1.5 เท่าเท่านั้น และโมเดลก็ได้ทำนายว่าดาวเคราะห์ดวงนี้น่าจะเป็นหินเหมือนโลก หรือปกคลุมด้วยมหาสมุทร”
ซาเวียร์ เดลฟอสเซ นักดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกรโนเบิลของฝรั่งเศส หนึ่งในทีมค้นพบ กล่าวว่า “น้ำในรูปของเหลวมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างที่เรารู้กัน”
เด ลฟอสเซเชื่อว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในปัจจุบันจะกลายมาเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญมาก สำหรับปฏิบัติการสำรวจอวกาศในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ปฏิบัติการ ดังกล่าวจะต้องส่งกล้องโทรทรรศน์ขึ้นไปในอวกาศเพื่อที่จะเห็น ลักษณะของแสงที่อาจจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวะ โดยการหาร่องรอยจากก๊าซในบรรยากาศเช่น ก๊าซมีเทน เป็นต้น
การค้นพบ ครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง อลิสัน บอยล์ จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน กล่าวว่า ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมดที่เราพบที่ดาวฤกษ์ต่างๆ ดาวเคราะห์กลีส 581 ซี เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่ดูราวกับว่ามันจะมีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่ เหมาะเจาะ
ศาสตราจารย์เกลนน์ ไวท์ จากห้องปฏิบัติการรัทเทอฟอร์ด แอ็บพลิตัน ซึ่งกำลังช่วยพัฒนาโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศดาร์วิน ขององค์การอวกาศยุโรปที่จะถูกส่งไปค้นหาดาวเคราะห์และสัญญาณของสิ่งมีชีวิต ที่ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในทศวรรษหน้า กล่าวว่า มันเห็นได้ชัดว่าการค้นพบดาวเคราะห์และคู่ของมันที่ดาวแคระแดงกลีส 581 จะกลายมาเป็นเป้าหมายที่เด่นมากสำหรับปฏิบัติการของกล้องอวกาศดาร์วินของ องค์การอวกาศยุโรป (Esa”s Darwin) และกล้องอวกาศเทอเรสเทรียลพลาเนท ไฟน์เดอร์ของนาซ่า (Nasa”s Terrestrial planet Finder) เมื่อกล้องอวกาศทั้งสองขึ้นสู่อวกาศในทศวรรษหน้านี้
ปัจจุบันนัก วิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่จะตรวจจับสูญญาณของสิ่งมี ชีวิตซึ่งจะนำไปใช้กับกล้องอวกาศดาร์วินและกล้องอวกาศเทอเรสเทรียลพลาเนท ไฟน์เดอร์
เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถตรวจหาน้ำและก๊าซต่างๆ เช่น ออกซิเจนและมีเทนซึ่งเป็นสัญญาณทางชีวะได้จากแสงสลัวๆ ที่สะท้อนออกมาจากดาวเคราะห์ เหมือนกับแสงสลัวๆ ที่เกิดแสงของดวงอาทิตย์ที่สะท้อนจากพื้นโลกไปยังอวกาศที่เรียกกันว่า เอิร์ทไชน์ (Earthshine)
ในกรณีของโลก แสงจากดวงอาทิตย์ที่ตกบนพื้นโลกจะสะท้อนไปที่ดวงจันทร์และสะท้อนกลับมายัง โลกอีกครั้งหนึ่ง แต่จะมีแสงเอิร์ทไชน์ซึ่งสลัวๆ จะอยู่ที่ด้านมืดของดวงจันทร์ แสงนี้จะเป็นตัวนำข้อมูลของบรรยากาศและสมบัติของพื้นผิวของโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจหาก๊าซต่างๆ แม้กระทั่งพฤกษชาติของโลกได้ วิธีการนี้กำลังจะถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์นอก ระบบสุริยะ
ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ เรียกกันว่า Exoplanets แล้วมากกว่า 200 ดวง ส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ เป้าหมายหลักคือค้นหาดาวเคราะห์เหมือนโลกและสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีสิ่งมี ชีวิต
http://www.matichon.co.th/matichon/m…sectionid=0143
Credit: http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,141298.0.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น